ประวัติความเป็นมาและการนำกระจกมาใช้งาน
ในยุคสมัยปัจจุบัน การใช้วัสดุโปร่งแสงและวัสดุโปร่งใสได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการออกแบบ และการใช้กับบ้านที่อยู่อาศัย เราจึงอยากแนะนำวัสดุที่เรียกว่า “กระจก” (glass) หมายถึง วัสดุที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งสามารถหลอมและนำไปขึ้นเป็นรูปต่างๆได้ เมื่อเย็นตัวลงแล้ว จะมีสถานะเป็นของแข็งที่มีลักษณะโปร่งใส ไม่ตกผลึก นิยมใช้ตกแต่งภายในอาคารเพื่อความสวยงาม และทำให้เพิ่มความสว่างไสวให้กับอาคารซึ่งนิยมใช้กับ งานอุตสาหกรรม ยานยนต์ ที่อยู่อาศัยและมีการใช้งานทั่วไปอย่างกว้างขวาง
ประวัติและรูปแบบของกระจก
ประวัติของกระจก
ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นกระจกนั้น มนุษย์ได้ค้นพบวัสดุที่เรียกว่า “แก้ว” จากการบังเอิญนำแผ่นเนตรอนมาใช้แทนภาชนะในการประกอบอาหาร เมื่อเนตรอนถูกความร้อนก็ละลายลงไปหลอมกับทรายบนพื้น จึงทำให้เกิดเป็นน้ำแก้ว มีสถานะเป็นของเหลวที่มีลักษณะใส และเมื่อน้ำแก้วเย็นตัวลงก็กลายเป็นวัสดุที่มีสถานะเป็นของแข็งและมีลักษณะใส อย่างที่เราเรียกว่า “แก้ว” ในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อนำแก้วมาหลอมแล้วขึ้นรูปเป็นแผ่นแบนราบ มีความหนา ก็จะเรียกแก้วนั้นว่า “กระจก”
ส่วนประกอบของกระจก
วัตถุดิบในการผสมกระจกมีดังนี้ ทรายแก้ว หินฟันม้า หินโดโลไมต์ เศษกระจก ซึ่งเป็นส่วนประกอบ 80% ในการผลิตกระจก โดยวัสดุเหล่านี้สามารถหาได้และมีแหล่งผลิตอยู่ในประเทศไทย แต่มีวัสดุอื่นๆ เช่น โซดาแอช ผงคาร์บอน ผงเหล็ก และโซเดียมซัลเฟต ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี ออกไซต์ ชนิดต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผสมกระจก เพื่อให้เกิดกระจกสีสันต่างๆ
ขั้นตอนการผลิตกระจก
การผลิตกระจกเริ่มจากการนำส่วนประกอบต่างๆ มาผสมกันตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ และนำเข้าเตาที่ตั้งอุณหภูมิ 1,500 องศาเซลเซียส โดยใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันเตา เพื่อให้ส่วนผสมต่างๆ หลอมละลายเข้าด้วยกัน จะได้แก้วออกมาในสถานะของเหลว แล้วจึงปรับอุณหภูมิลงมาที่ 1,100 องศาเซลเซียส แก้วจะค่อยๆ หนืดขึ้น จนสามารถนำไปขึ้นรูปได้ แล้วจึงปล่อยน้ำแก้วให้ไหลลงสู่อ่างโลหะ โดยในอ่างนี้จะบรรจุโลหะดีบุกหลอมเหลวซึ่งมีคุณสมบัติหนักกว่าน้ำแก้ว น้ำแก้วจะลอยตัวอยู่บนโลหะหลอมเหลว โดยที่ไม่มีการทำปฏิกิริยาทางเคมีกัน
หลังจากนั้นน้ำแก้วก็จะถูกดึงให้ไหลไปข้างหน้าภายใต้อุณหภูมิและความดันที่ได้มีการควบคุมความหนักของโลหะหลอมเหลวรวมกับความหนักของน้ำแก้ว จะทำให้น้ำแก้วไหลไปเป็นสายเรียบคล้ายริบบิ้นและมีความหนาสม่ำเสมอทั้ง 2 ด้านของน้ำแก้ว สายกระจกแผ่นจะค่อย ๆ ถูกทำให้เย็นลงขณะที่ไหลมาทางปลายของอ่างโลหะและเคลื่อนเข้าส่วนที่ลดอุณหภูมิ ซึ่งจะทำให้กระจกเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ แล้วจึงเป่าให้แห้ง และเข้าสู่เครื่องตัดให้ได้ตามขนาดกระจกที่ต้องการ
กระจกกั้นห้องน้ำ
ในระยะหลัง ได้มีการนำกระจกมาใช้ในงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบ้านมากมาย แต่ครั้งนี้ จะขอพูดถึงการใช้งานกระจกในห้องน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวฉากกั้นอาบน้ำหรือกระจกชาวเวอร์ ระหว่างพื้นที่อาบน้ำกับพื้นที่ส่วนที่เหลือของห้องน้ำ โดยกระจกกั้นห้องน้ำมีหลายรูปแบบ ในการติดตั้งกระจกกั้นอาบน้ำ ควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ และพื้นที่ในการติดตั้งเป็นหลัก โดยรูปแบบของกระจกกั้นห้องน้ำมีดังนี้
- กระจกกั้นห้องน้ำแบบบานเปลือย มีความคงทนสูง ลักษณะดูโปร่ง สวยงาม ไม่อึดอัด สามารถติดตั้งได้ทุกขนาดความกว้าง โดยปกติแล้วจะเป็นประตูแบบดันเข้า-ออก สามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่ากระจกกั้นห้องน้ำแบบบานเลื่อน
- ฉากกั้นห้องน้ำแบบบานเลื่อน ใช้งานโดยการเลื่อนเปิด-ปิด มีกรอบของบานประตู แม้จะดูโปร่งไม่เท่ากระจกกั้นห้องน้ำแบบบานเปลือย แต่ก็ดูสวยงามไม่แพ้กัน
- กระจกบานตาย ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายกระจกเพื่อเปิดปิดได้
ทำไมกระจกกั้นห้องน้ำถึงเป็นที่นิยม?
ในปัจจุบันกระจกกั้นห้องน้ำได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะมีหน้าที่ แยกส่วนพื้นที่แห้งและพื้นที่เปียกในห้องน้ำแล้ว ยังสามารถประหยัดเนื้อที่ในห้องน้ำ ช่วยเรื่องดีไซน์สำหรับห้องน้ำที่มีพื้นที่น้อย ทำให้ห้องน้ำดูโล่งโปร่ง และกว้างขึ้น และยังเพิ่มความสวยงามให้แก่ห้องน้ำอีกด้วย
สนใจกระจกชาวเวอร์กั้นห้องน้ำ ติดต่อทีมงาน Trump Glass ติดตั้งกระจกชาวเวอร์มืออาชีพ ได้ที่
โทร 063-720-5750 Line: TrumpGlass
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- https://www.dek-d.com/board/view/1132729/
- https://www.gotoknow.org/posts/43710
- http://qzana.blogspot.com/2010/06/blog-post.html
- https://th.wikipedia.org/wiki/กระจก
- https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet7/kku_25.htm
- http://www.udaluminum.com/know.html
- http://pantip.com/topic/30056842