ใครที่คิดจะ ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน? อาจมีคำถามว่าแบบไหนดี? หลังคามีกี่แบบ? บทความนี้ขอแนะนำการต่อเติมงานหลังคาหน้าบ้าน 9 ชนิด ครบจบในที่เดียว โดยทีมงานของเราได้สรุปรวบรวมข้อมูลอัพเดตการต่อเติมงานหลังคาไว้ในโพสต์นี้แล้ว โดยหลักๆแล้ว จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ หลังคาทึบ หลังคาแบบขุ่น และหลังคาคาโปร่งแสง/โปร่งใส
แบบทึบ | หลังคายางมะตอย, ไวนิล, UPVC, เมทัลชีท, กระเบื้อง |
แบบขุ่น | โพลีคาร์บอเนต, แผ่นไฟเบอร์ |
แบบโปร่งแสงหรือใส | กระจก, แผ่นอะคริลิค ShinkoLite |
Contents
หลังคาหน้าบ้านแบบทึบ
หลังคายางมะตอย (Shingle Roof)
แผ่นหลังคายางมะตอย หรือที่เรียกกันว่า หลังคาชิงเกิลรูฟ (shingle roof) เป็นหลังคารูปแบบทึบที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน หลังคาชนิดนี้เป็นที่นิยมเนื่องจากมี ข้อดีคือ ติดตั้งแล้วดูสวยงามคลาสสิกในแบบหลังคาทึบ มีหลากหลายสีให้เลือก สามารถป้องกันความร้อนของแสงแดดได้ดี ทำให้บ้านร่มรื่นขึ้น และมีความทนทานในการใช้งาน เมื่อใช้แผ่นหลังคาคุณภาพสูงนำเข้าจากประเทศอเมริกา (USA) แคนาดา (Canada) หรือยุโรป
หลังคา shingle roof ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศอเมริกา สำหรับใช้ในงานหลังคาบ้าน รวมถึงการต่อเติมหลังคาโรงจอดรถและหลังคาหน้าบ้าน
ข้อเสียของหลังคาชนิดนี้คือมีราคาสูงกว่าแผ่นหลังคาทึบชนิดอื่นๆ และแผ่นยางมะตอยเกรดถูกนำเข้าจากประเทศจีนจะใช้งานได้ไม่ทนทาน
หลังคาไวนิล (Vinyl)
หลังคาทึบโดยใช้แผ่นหลังคาไวนิลก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เพราะราคาที่ประหยัดกว่าหลังคายางมะตอย แต่มีข้อด้อยคือ ไม่ค่อยสวยงาม โดยส่วนใหญ่เป็นสีขาว และอาจพบรอยรั่วได้เมื่อช่างติดตั้งไม่ดี เนื่องจากเป็นการนำแผ่นไวนิลมาต่อกัน
ยูพีวีซี (UPVC)
แผ่นหลังคา UPVC เป็นที่นิยมอยู่ช่วงหนึ่งเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว เนื่องด้วยคุณสมบัติการป้องกันความร้อนได้ดีในราคาที่ไม่สูงมาก ลักษณะของแผ่น UPVC จะคล้ายกับแผ่นเมทัลชีท แต่ใช้เป็นวัสดุ UPVC แทน
เมทัลชีท (Metal Sheet)
แผ่นเมทัลชีทเหมะสำหรับงานต่อเติมหลังคาที่มีงบประมาณจำกัด เนื่องจากแผ่นเมทัลชีทราคาถูก หาซื้อได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือกันความร้อนได้ไม่ดี เกิดเสียงดังสำหรับคนอยู่ข้างใต้หลังคาเมื่อฝนตก
แผ่นเมทัลชีทมีหลายเกรด โดยราคาเมทัลชีทขึ้นอยู่กับความหนาและยี่ห้อของแผ่น สำหรับแผ่นที่ทำเป็นรูปแบบ sandwich panel หรือมีฉนวนตรงกลาง และมีแผ่นเมทัลชีทแปะด้านนอกทั้งสองด้านจะสามารถป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น แต่ราคาก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
กระเบื้อง (roof tile)
ในปัจจุบัน แผ่นกระเบื้องไม่เป็นที่นิยมในการใช้เป็นหลังคาแบบทึบ เนื่องจากติดตั้งแล้วทำให้ผู้อยู่อาศัยข้างใต้หลังคาร้อน อีกทั้งกระเบื้องก็ดูไม่สวยงามทันสมัย และยังแตกร้าวได้ง่ายอีกด้วย
หลังคาแบบขุ่น
โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate)
แผ่นหลังคาโพลีคอร์บอเนตแบ่งออกกว้างๆได้เป็นหลังคาโพลีตันและแผ่นโพลีกลวง สำหรับการต่อเติมหลังคายื่นออกมาหน้าบ้านในประเทศไทย
หลังคาโพลีกลวงจะเป็นที่นิยมมากว่า เนื่องจากมีราคาถูก แต่มีข้อด้อยคือไม่สวยงามและไม่ทนทาน ใช้งานไปนานๆน้ำจะเข้าแทรกไปในร่องที่กลวงของหลังคาโพลี เกิดเป็นคราบเขียวๆ หรือเมื่อโดนตากแดดมาก แผ่นก็อาจจะกรอบแตกได้
หลังคาโพลีตันมีคุณภาพสูงกว่าโพลีกลวง แผ่นทนทานต่อการใช้งานมากกว่า แต่ราคาก็สูงกว่ามากพอสมควรด้วย โดยราคาของแผ่นโพลีตันขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่น
แผ่นไฟเบอร์ (Fiber Glass)
แผ่นไฟเบอร์มีลักษณะเป็นแผ่นขุ่นเหนียวๆ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมมากเท่ากับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดตั้งแล้วไม่สวยงาม ดูเป็นแผ่นขุ่นๆ ราคาก็อยู่ในระดับกลางๆ ทำให้เจ้าของบ้านที่มีกำลังซื้อ ขยับไปใช้หลังคากระจกหรือหลังคาชินโคไลท์แทน
แบบโปร่งแสง แบบใส
หลังคากระจก (Glass)
หลังคากระจกเคยเป็นหลังคายอดนิยมสำหรับงานหลังคาโปร่งใส แต่เนื่องด้วยเจ้าของบ้านเริ่มเป็นห่วงถึงความปลอดภัยของกระจก ซึ่งเมื่อเกิดการแตกร้าว อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดการบาดเจ็บได้ ทำให้เจ้าของบ้านเริ่มไปใช้กระจกที่ป้องกันการแตกได้ดี เช่น กระจกเทมเปอร์ลามิเนต ความหนา 10 มม ขึ้นไป ซึ่งจะทำให้มีราคาสูง
หลังคาอะคริลิค ShinkoLite KUNNAPAB by SCG
สำหรับใครที่อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้วยังไม่มีคำตอบว่าจะต่อเติมหลังคาหน้าบ้านแบบไหนดี ? ทีมงาน KUNNAPAB ขอแนะนำแผ่นอะคริลิค shinkoltie (ชินโคไลท์) ซึ่งเป็นนวัตกรรมแผ่นเรียบหลังคาโปร่งแสง ผลิตโดยการร่วมทุนของ Mitsubishi Chemical และ SCG Chemicals กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากติดตั้งแผ่นชินโคไลท์แล้วทำให้บ้านดูสวยงามโดดเด่น หรูหรา น่าอยู่อาศัย โปร่งโล่งสบาย
อย่างไรก็ตาม การติดตั้งหลังคา shinkolite มีข้อควรระวัง เช่น ควรซื้อแผ่นและอุปกรณ์ติดตั้งจากตัวแทนจำหน่าย scg มืออาชีพ เนื่องจากการรับประกันแผ่นโดย scg จะมีผลก็ต้องเมื่อติดตั้งแผ่นหลังคาชินโคไลท์โดยใช้อุปกรณ์ติดตั้ง ShinkoLite KUNNAPAB ที่จำหน่ายโดย KUNNAPAB Home Solution และติดแผ่นชินโคไลท์ตามคู่มือติดตั้งอย่างถูกวิธี